ITSC จัดเวทีถกประเด็น "Gen-AI Unlocking: ตอบทุกคำถามนโยบาย AI มช และกรณีศึกษาการใช้งานในด้านการเรียนการสอน"

ในปัจจุบันเทคโนโลยี Gen-AI หรือปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) เป็นที่พูดถึงและผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่ง AI คือศาสตร์แห่งการสร้างเครื่องจักรที่มีความฉลาด ที่กำเนิดมาตั้งแต่ปี 1955 และมีการวิวัฒนาการมาตลอด AI ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะในการสร้างเนื้อหาใหม่จากชุดข้อมูลเดิม ด้วยอัลกอริทึมที่มีโมเดลเฉพาะต่าง ๆ ตามที่มีการออกแบบต่างกัน มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เสียง ข้อความ โมเดลสามมิติ และอื่น ๆ และในแวดวงการศึกษาทุกวันนี้ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้กับครูผู้สอน ที่ผ่านมา สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เห็นถึงเทรนความสำคัญของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และได้จัดการเสวนา "Chat GPT ความเสี่ยงและโอกาสของมหาวิทยาลัย" การสร้างความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การแสดงความคิดเห็นถึงความเสี่ยง และโอกาสของการประยุกต์ใช้ในภาคการศึกษา ไปเมื่อปี 2566 ตลอดระยะเวลาที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ได้จัดทำประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบเจเรเนทิฟ (Generative Artificial Intelligence) โดยประกาศเป็นการกำหนดการนำ Gen AI มาประยุกต์ใช้สนับสนุนการเรียนการสอน และการทำงาน เพิ่ม Productivity เพื่อให้เป็นมาตรฐานข้อกำหนด รวมถึงมาตรการคุ้มครองผู้ที่นำมาใช้งานให้ความสำคัญและคำนึงถึงหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณ และเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักฯ จึงได้กำหนดจัดการเสวนาขึ้น ภายใต้หัวข้อ "Gen-AI Unlocking: ตอบทุกคำถามนโยบาย AI มช และกรณีศึกษาการใช้งานในด้านการเรียนการสอน" แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อสำคัญ การถ่ายทอดให้นโยบายการใช้งาน Gen AI ให้เกียรติโดย รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเสวนา ถาม-ตอบในเชิงนโยบายการใช้งาน Gen AI ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง Artificial Intelligence (AI) จากคณะและส่วนงานของมหาวิทยาลัย ผศ.ดร. พร้อมพงศ์ สุกัณศีล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผศ.ดร. กานต์ ปทานุคม อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ อ.ดร. กรพรหม พิกุลแก้ว อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญในด้านกฎหมายและด้านออนไลน์ รศ.ดร. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มาถก 7 ประเด็นสำคัญ รวมถึงแชร์ประสบการณ์การทำ AI ซึ่งผู้ดำเนินการเสวนา ให้เกียรติโดย รศ.ดร. จักรพงศ์ นาทวิชัย ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ และหัวข้อสุดท้าย การแชร์การนำใช้งาน Gen AI มาสนับสนุนด้านการเรียนการสอนในสาย Technology โดย ผศ.ดร. ชาติชาย ดวงสอาด รองผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ การเสวนาจัดทั้งแบบ on-site ณ ห้องประชุม 201 สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ และผ่านระบบออนไลน์ ที่มีผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนากว่า 200 คน ทั้งนี้การเสวนาจัดขึ้นสนับสนุนการเรียนการสอนและการปรับใช้เชิงนโยบาย เพื่อการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้รับฟังให้มีความรู้และเข้าใจการใช้ AI เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน  

อัลบั้ม