ความเป็นมา

สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เริ่มต้นจากการเป็นสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2525 เป็นหน่วยงานอิสระมีฐานะเทียบเท่าคณะ จากนั้น ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ได้มีการจัดตั้งโครงการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำหน้าที่ดูแลโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่มหาวิทยาลัย และได้มีการยุบรวมศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับสำนักบริการคอมพิวเตอร์ และจัดตั้งเป็นสถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2545 และเมื่อมหาวิทยาลัยได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนให้สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศตั้งเป็นสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยได้มุ่งเน้นการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ ให้เป็นศููนย์กลางแห่งการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยที่่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล และการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศล้ำสมัย เพื่อขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลตามลำดับ



วิสัยทัศน์

กลไกขับเคลื่อนด้านดิจิทัลสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ l Digital Driving Force for CMU Intelligence University



เป้าหมาย

ผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลแบบมืออาชีพสำหรับมหาวิทยาลัย l A Trusted-Professional Digital Solution Provider for CMU



พันธกิจ
  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ (Infrastructure): จัดให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายการสื่อสาร และระบบประมวลผลข้อมูล ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความปลอดภัย  
  2. ด้านระบบสารสนเทศ (Information Systems): พัฒนาข้อมูล และระบบสารสนเทศในระดับองค์กร(Enterprise-grade) เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการบริหาร โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ด้านการส่งมอบโซลูชัน (Tech Solution Delivery): พัฒนาระบบการ ส่งมอบโซลูชันด้านดิจิทัล เพื่อผลักดันการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศและข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล
  4. ด้านกระบวนการสนับสนุน (Supporting System): พัฒนาระบบบริหารจัดการภายในให้มีสมรรถนะสูง เป็นต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัยในด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล


ค่านิยม
  • I : Innovative เน้นความคิดที่แปลกใหม่ และ สร้างสรรค์เพื่อพัฒนางาน และการเรียนรู้
  • T : Team-Driven การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือกัน เอื้อเฟื้อต่อกัน ร่วมมือ รวมใจและแก้ไขปัญหาในการทำงานอย่างเป็นระบบ และนำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน
  • S : Service-Oriented เอาใจใส่การบริการต้องคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เป็นหลัก โดยใช้หลักธรรมาภิบาลในการทำงาน
  • C : Continuous Improvement การปรับปรุงด้วยระบบคุณภาพมีการตรวจสอบ ประเมินและ พัฒนางานและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง


แผนกลยุทธ์ RESILIENT ของสำนักฯ ประกอบด้วย
  • (R)-eprofile Product & Services  ผลิตภัณฑ์หลักที่ใช้เทคโนโลยีใหม่/เหมาะสม ร้อยละ 100
  • (E)-ffective Delivery  ผลสำรวจความเชื่อมั่นในด้านการส่งมอบงาน อยู่ในระดับร้อยละ 90
  • (S)-tandard-(i)-zed Operation ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลในการพัฒนาระบบสารสนเทศ และความปลอดภัยไซเบอร์
  • (L)-ean Process กระบวนการสนับสนุนภายใต้สำนักงานสำนักฯ มีประสิทธิภาพสูงขึ้นร้อยละ 30
  • Digital (I)-nitative ดำเนินการโครงการขับเคลื่อนงานด้านดิจิทัลได้ตามเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย
  • (E)-ffective Workforce ผลสำรวจความเชื่อมั่นในด้านขีดความสามารถในการดำเนินงาน อยู่ในระดับร้อยละ 90 และบุคลากรได้รับการรับรองตามมาตรฐานอุตสาหกรรมตามสายงานร้อยละ 80
  • Workforce E-(N)-gagement ผลสำรวจความผูกพันของบุคลากรอยู่ในระดับร้อยละ 80
  • (T)-ech Partnership ผลสำรวจความเชื่อมั่นในด้านขีดความสามารถในการดำเนินงาน ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับร้อยละ 90









    อัลบั้ม